โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการทำนา

ขั้นตอนการทำนา





1.การเตรียมพันธุ์ข้าว
 


เมื่อนำเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแชน้ำนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง
แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง
เมล็ดจะงอกภายใน
48 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก
ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็นยอดก็จะสูงขึ้น
เหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า
ต้นกล้า
หลังจากต้นกล้ามีอายุ ประมาณ 40 วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้น
โดยเจริญเติบโตออกจากตา บริเวณโคนต้น
ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ
5-15 หน่อ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ข้าว ระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน
แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ
100-200 เมล็ด
โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่สุด
ประมาณ
100-200 เซนติเมตรซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ข้าว
ตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ  







2.
การปลูกข้าว





วิธีการปลูกข้าวหรือการทำนาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้

 

2.1 การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก
ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า
ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น ภูเขา มักจะไม่มีระดับ
คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ
เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด
โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก
แล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันที
หลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้ว
จะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน
เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขัง
และไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว
พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน
ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน
และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่
ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม
พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้
ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก

 

 

 



2.2 การปลูกข้าวนาดำ หรือเรียกว่า การปักดำ
ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก
และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่ ดังนั้น
การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า
Indirect Seeding
ซึ่งต้องเตรียมดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร
และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย
หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม
ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ
ขนาดแปลงละ
1 ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ
ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร
การไถดะ หมายถึง การถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนา
และพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ
1 สัปดาห์
จึงทำการไถแปรซึ่งหมายถึงการไถตัดกับรอยไถดะ
การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนา
ตลอดจนถึงชนิดและปริมาณของวัชพืช เมื่อไถแปรแล้วทำการคราดได้ทันที
การคราดก็คือการคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนา และปรับพื้นที่นา
ให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกัน ด้วยพื้นที่นาที่มีระดับเป็นที่ราบ
จะทำให้ต้นข้าวได้รับน้ำเท่าๆกัน และสะดวกต่อการไขน้ำเข้าออก

การตกกล้า หมายถึง การนำเมล็ดหวานให้งอก
ใช้เวลาประมาณ
25-30 วัน นับจากวันหว่าน
เมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดโตพอที่จะถอนนำไปปักดำได้





 

การปักดำ คือการนำต้นกล้าที่ถอนขึ้นจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆ
จะต้องสลัดดินโคลนที่รากออก แล้วนำไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้
ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ตัดปลายใบทิ้ง พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขัง
อยู่ประมาณ
5-10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้
เมื่อนานั้นไม่มีน้ำขังอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนั้นลึกมากต้นข้าวที่ปักดำ
อาจจมน้ำในระยะแรก และ ข้าวจะต้องยืดต้นมากกว่าปกติ
จนผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่ได้ผลผลิตสูง
จะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร

 







2.3 การปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์
หว่านลงในพื้นที่นาที่ไถเตรียมไว้โดยตรง

ซึ่งเรียกว่า Direct Seeding การเตรียมดินก็คือการไถดะและไถแปร
ชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน
เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีคันนากั้น
จึงสะดวกแก่การไถด้วยแทรกเตอร์ขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตามยังมีชาวนาจำนวนมากใช้แรงงานวัวและควายไถนา
การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย
การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ การหว่านหลังขี้ไถ และการหว่านน้ำตม

การหว่านสำรวย การหว่านวิธีนี้ชาวนาจะหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
ที่ยังไม่ได้เพาะให้งอกลงในพื้นที่นาเตรียมดินโดยการไถดะ
และไถแปรไว้แล้วโดยตรง เมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงไปตกลงปอยู่ในซอก
ระหว่างก้อนดินและรอยไถ เมื่อฝนตกพื้นดินเปียกและเมล็ดได้รับความชื้น
เมล็ดข้าวจะงอกเป็นต้นกล้า การหวานวิธีนี้ใช้เฉพาะท้องที่
ซึ่งดินมีความชื้นพออยู่แล้ว



 

การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ ชาวนาจะทำการไถดะและไถแปร
แล้วจึงนำเมล็ดที่ยังไม่ได้เพาะ ให้งอกหว่านลงไปทันทีแล้วคราด
หรือไถเพื่อกลบเมล็ดที่หว่านลงไปอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากดินมี

ความชื้นอยู่แล้วเมล็ดจะเริ่มงอกทันทีหลังจากหว่านลงดิน
การตั้งตัวของต้นกล้าจะตั้งตัวดีกว่า

การหว่านสำรวย เพราะเมล็ดที่หว่านถูกกลบฝังลึกลงในดิน



การหว่านน้ำตม การหว่านแบบนี้นิยมใช้ในพื้นที่มีน้ำขังประมาณ 3-5 เซนติเมตร
และพื้นที่นา
เป็นผืนใหญ่ขนาดประมาณ 1-2 ไร่
มีคันนากั้นเป็นแปลงการเตรียมดินทำเหมือนกับการเตรียม

ดินสำหรับนาดำ ซึ่งมีการไถดะ ไถแปร
และคราดเพื่อเก็บวัชพืชออกจากพื้นนาแล้วจึงทิ้งให้ดิน

ตกตะกอนจนเห็นว่าน้ำใส จึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะให้งอกแล้วหว่านลงนาและไขน้ำออก
เมล็ดจะ
เจริญเติบโตเป็นต้นข้าวและเจริญเติบโตอย่างข้าวอื่นๆ
ตามปกติการหว่านแบบนี้นิยมทำกันใน

ท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ทำการปลูกข้าวนาปรัง



 


 
 

3. การดูแลรักษา ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การหว่านเมล็ด การปักดำต้นข้าวต้องการน้ำ
และปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต ในระหว่างนี้ต้นข้าวอาจถูกโรค
และแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้าทำลายต้นข้าว
โดยทำให้ต้นข้าวแห้งตายหรือผลผลิตต่ำและคุณภาพเมล็ดไม่ได้มาตราฐาน
เพาะฉะนั้นนอกจากจะมีวิธีการปลูกที่ดีแล้วจะต้องมีวิธีการดูแลที่ดีอีกด้วย
ทั้งการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยและพ่นยาเคมี
เพื่อป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาจเกิดระบาดขึ้นได้


 

4. การเก็บเกี่ยว สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่สี่หลังจากข้าวออกดอก
แล้วประมาณ
28-30 วัน ชาวนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคกลางใช่เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวที่ละหลายๆ รวง
ส่วนชาวนสภาคใต้ใช้แกระสำหรับเกี่ยวข้าวทีละรวง เคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมี
2 ชนิด
 ได้แก่ เคียวนาสวน และเคียวนาเมือง เคียวนาสวนเป็นเคียวกว้าง
ใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนที่ปลูกไว้แบบปักดำ
ส่วนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวน
เคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองที่ปลูกไว้แบบหว่าน
ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวไม่จำเป็นต้องมีคอรวงยาว
เพราะข้าวที่ถูกเกี่ยวมาจะถูกมัดเป็นกำๆ ส่วนข้าวที่ถูกเกี่ยวด้วยแกระ
จำเป็นต้องมีคอรวงยาวเพราะชาวนาต้องเกี่ยวรวงที่ละรวงแล้วมัดเป็นกำๆ
ข้าวที่ถูกเกี่ยวด้วยแกระชาวนาจะเก็บไว้ในยุ้งฉางซึ่งโปร่ง
มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะทำการนวดเมื่อต้องการขาย
หรือต้องการสีเป็นข้าวสาร ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำ
ชาวนาจะทิ้งไว้ในนาบนตอซังเพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา
3-5 วัน
สำหรับข้าวที่ปลูกแบบหว่านพื้นที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว
ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะถูกกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่างๆ
กันเป็นเวลา
5-7 วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม แล้วจึงนำมาที่ลานนวด
ข้าวที่นวดแล้วจะถูกนำไปเก็บในยุ้งฉางหรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้



5. การนวดข้าว หมายถึงการนำเมล็ดข้าวออกจากรวงและทำความสะอาด
เพื่อแยกเมล็ดข้าวลีบและเศษฟางออก เหลือไว้เฉพาะเมล็ดข้าวเปลือก
ที่ต้องการเท่านั้น ซึ่งการนวดข้าวสามารถทำได้หลายวิธี
เช่น การนวดข้าวโดยใช้แรงสัตว์ (วัว ควาย) การนวดแบบฟาดกำข้าว
การนวดแบบใช้เครื่องทุ่นแรง (เครื่องหมุนตีร่วงข้าว)
 และการนวกแบบใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ (คอมไบน์)
โดยเริ่มจากการนำข้าวที่เกี่ยวจากนาไปกองไว้ที่ลานสำหรับนวดข้าว
 การกองข้าวมีหลายวิธี แต่หลักสำคัญคือการกองข้าวจะต้องเป็นระเบียบ
ถ้ากองไม่เป็นระเบียบมัดข้าวะอยู่สูงๆ ต่ำๆ
ทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหายและคุณภาพต่ำ
โดยปกติแล้วจะกองเป็นวงกลม หลังจากข้าวนวดแล้ว
ชาวนามักจะที่ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา
5-7 วัน
เพื่อลดความชื้นในเมล็ดข้าว ข้าวที่เกี่ยวใหม่ๆ มีความชื้นประมาณ
20-25 %
หลังจากตากแล้วเมล็ดข้าวจะมีความชื้นเหลือประมาณ 13-15% เมล็ด


 


 

6. การทำความสะอาดเมล็ด เมล็ดข้าวที่ได้จากการนวดมักมีสิ่งเจือปน
เช่น ดิน กรวด ทราย เมล็ดลีบฟางข้าวทำให้ขายได้
ราคาต่ำ
ฉะนั้นชาวนาจะทำความสะอาดเมล็ดก่อนที่จะนำข้าวเปลือกเก็บเข้ายุ้งฉาง
หรือขายให้พ่อค้า การทำความสะอาดเมล็ด

หมายถึง การนำข้าวเปลือกออกจากสิ่งเจือปนอื่นๆ
ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การสาดข้าว การใช้กระด้งฝัด และการใช้เครื่องฝัด


 

7. การตากข้าว เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตราฐานเป็นเวลานานๆ
หลังจากนวดและทำความ สะอาดเมล็ดข้าวแล้ว
จำเป็นต้องนำข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำไปเก็นในยุ้งฉาง
เพื่อให้ข้าวเปลือกแห้งและมีความชื้นประมาณ
13-15%
เมล็ดข้าวในยุ้งที่มีความชื้นสูงกว่านี้จะทำให้เกิดความร้อนสูงจนคุณภาพข้าวเสื่อม
และอาจทำให้เชื้อราติดมากับเมล็ด

และขยายพันธุ์ทำลายเมล็ดข้าวเปลือกได้เป็นจำนวนมาก
การตากข้าวควรตากบนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับ

แสงโดยทั่วถึงกัน ควรตากแดดนานประมาณ 3-4 แดด
ในต่างประเทศใช้เครื่องอบข้าวเพื่อลดความชื้นในเมล็ดข้าวเรียกว่า

Drier โดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น