โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

สติ

สติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย

Dharmacakra flag (Thailand).svg
ประวัติศาสนาพุทธ
ศาสดา
พระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)
จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
ไตรรัตน์
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรมที่น่าสนใจ
ไตรลักษณ์
อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมศาสนาพุทธ
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
การจาริกแสวงบุญ
พุทธสังเวชนียสถาน ·
การแสวงบุญในพุทธภูมิ
ดูเพิ่มเติม
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ หมายถึง อาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้ นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้ เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม ระงับยับยั้งใจได้ ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอ ป้องกันความเสียหายเบื้องต้นยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่าม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไม่ประมาท
สติ เป็นธรรมมีอุปการะมาก คือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง สตินั้นหากนำมาใช้กับทางโลกทั่วไปก็ย่อมมีประโยชน์มหาศาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ การคิดอ่านย่อมเป็นระบบ จิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงานใด ๆ อารมณ์มักจะเป็นปกติ ไม่ค่อยโกรธ เครียด หรือทุกข์ใจอะไรมาก ๆ กล่าวโดยรวมคือย่อมเกื้อกูลชีวิตประจำวันทางโลกได้อย่างดีซึ่งเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจน ถ้ารู้เนือง ๆ มาก ๆ เข้าจนเป็นมหาสติ ก็จะได้ประโยชน์จากทางธรรมด้วย การที่เรามีสติอยู่เนือง ๆ รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ทำอย่างติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็เพื่อให้สติเกื้อกูลต่อการ “เห็นความจริง” ความจริงนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือกายกับใจจุดหมายของการรู้ก็เพื่อให้เห็นความจริง อันได้แก่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา
สติ เป็นคุณธรรมที่เกิดเองไม่ได้ ต้อง ทำให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝนรวบรวมจิตใจให้นิ่งแน่วด้วยวิธีต่างๆ เช่นการเจริญวิปัสสนาคือการฝึกตามมหาสติปัฏฐานสูตร ทำสมาธิ สวดมนต์ ภาวนาคือให้มีความรู้สึกตัวผ่านอายตนะทั้ง 6
หลักการเจริญสติสามารถกระทำได้ในทุกอิริยาบถ การเจริญสติ มิใช่เพื่อให้จิตนิ่งถาวรอันเป็นการเพ่งแบบสมาธิ คือ จิตนั้นต้องรู้เอง มิใช่จงใจดักรู้ จิตเผลอไปก่อนค่อยตามรู้ทีหลัง ว่าเผลอไปแล้วแต่ไม่ไปบังคับจิตให้หายเผลอ รู้แบบสักว่ารู้ รู้แบบไม่เพ่ง ไม่เผลอ แต่ก็ไม่ประคอง จิตที่มีสติ รู้ตัวต้องนุ่มนวล อ่อนโยน รู้ตื่น เบิกบาน คล่องแคล่ว ควรแก่การงาน รู้แบบซื่อๆ รู้แบบสบายๆ รู้แล้วจบลงที่รู้ แต่ไม่จงใจให้จบ รู้ด้วยใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง แต่ไม่จงใจประคองรักษาความเป็นกลาง รู้โดยสภาวะ จิตมีสภาวะใดๆก็รู้ทัน รู้แบบไม่ต้องเคร่ง ต้องเครียด ซึม ทื่อ แค่เพียรทำเหตุให้ถึงพร้อมโดยไม่จำเป็นต้องหวังผล รู้ตามความจริงที่เกิดอย่างที่เป็น รู้สภาวะที่เกิดจริงๆตามความเป็นจริง ไม่ช่วยสมมุติเพิ่ม รู้คือรู้ ไม่ใช่ความคิด อย่าอยากผลักไสความชั่ว อย่าอยากรักษาความดี เพราะจะเหนี่อยและเครียด จงรู้กายใจตามจริงว่าเผลอคิดชั่ว คิดดีก็รู้ทัน จิตที่เผลอคิด มันก็ห้ามไม่ได้เพราะจิตทำงานเอง ทุกสิ่งล้วนเป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตนไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา จิตก็เป็นอนัตตา สติก็เป็นอนัตตา สติก็บังคับให้เกิดตามใจอยากไม่ได้ สติจะเกิดก็เพราะมีเหตุ ด้วยการฝึกตามรู้มีสติบ่อยๆ การพยายามจงใจรู้จึงมิใช่สติ แต่เป็นความโลภอยากได้สติ เลยสร้างสภาวะเลียนแบบสติ สติเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่คงที่ แม้สติก็ต้องเสื่อมเป็นธรรมดา แม้ความนิ่งก็เป็นอนิจจัง มีเหตุก็ฟุ้ง ไม่มีเหตุก็ดับ การบังคับจิตให้นิ่งเป็นการฝืนธรรมชาติของจิต แม้เผลอมีอารมณ์ก็ไม่นานเปลี่ยน อารมณ์ใดๆที่ถูกรู้จะอยู่ไม่ได้เพราะจะมีแต่สภาวะรู้เท่านั้น จึงอย่าหวงแหนสติ จิตจะดีไม่ดีก็จงรู้อย่างที่เป็น สติคือการรู้อย่างอิสระ ไม่ยินดียินร้าย วางใจกลางๆ ยอมรับความจริงในความเจริญหรือความเสื่อมของสรรพสิ่ง คลายความยึดมั่นถือมั่น อย่างเช่นนั้นเอง

[แก้] อ้างอิง

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น