โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ดนตรีไทยสมัยอยุธยา

เป็นยุคสมัยที่บ้านเมืองต้องทำศึกสงครามอยู่เกือบตลอดเวลา  ทั้งสงครามภายนอกและสงครามภายใน  ดังนั้น  การดนตรีไทยในสมัยนี้จึงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ได้รับแบบแผนจาก สมัยสุโขทัยมากนัก

     วงปี่พาทย์ เครื่องห้า เครื่องดนตรีที่มีมาจากสมัยสุโขทัย คือ ปี่ใน  ฆ้องวง  ตะโพน  กลองทัด  และฉิ่ง  ในสมัยอยุธยายังคงแบบเดิมไว้ทั้งหมด  แต่ในช่วงปลายสมัยอยุธยา "ระนาด"  ก็ได้เข้ามาเป็นเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์เครื่องห้าและแม้จะมีระนาดเพิ่ม เข้ามาก็ตาม  "วงปี่พาทย์เครื่องห้า"  ก็ยังคงเรียกชื่อเดิมอยู่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

     วงมโหรี  เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นสมัยอยุธยา  มีผู้หญิงเป็นผู้บรรเลง  สำหรับขับกล่อมพระมหากษัตริย์ให้ทรงพระเกษมสำราญ  โดยการบรรเลงวงมโหรีในครั้งแรกมีผู้บรรเลงทั้งหมด 4 คน คือ
     1.  คนดีดพิณที่เรียกว่า กระจับปี่
     2.  คนสีซอสามสาย
     3.  คนตีทับ  (โทน)
     4.  คนตีกรับพวง

     ต่อมาได้มีการเพิ่มคนบรรเลงและเครื่องดนตรีขึ้นมาอีก  นั่นคือ คนตีรำมะนา (ให้ตีคู่กับโทน) 1 คน และเป่าขลุ่ยอีก 1 คน รวมขณะนี้มีผู้บรรเลงในวงมโหรีทั้งสิ้น 6 คน  แต่ในภายหลังได้เพิ่มฉิ่งขึ้นมาอีกหนึ่งอย่างด้วย

     ซึ่งในระยะเวลาต่อมาได้มีการนำเอาจะเข้ที่เป็นเครื่องดนตรีของมอญเข้ามาแทน กระจับปี่เพราะมีเสียงที่ไพเราะกว่า  นอกจากนี้ยังดีดได้ง่ายและสะดวกกว่ากระจับปี่

     วงเครื่องสาย  เครื่องดนตรีประเภทสายที่มีอยู่ในสมัยอยุธยานั้นมีอยู่แล้วมากมายหลายชนิด และได้รับความนิยมในการเล่นอย่างแพร่หลายจากผู้คนสมัยนั้น  จนกระทั่งการเล่นเครื่องดนตรีประเภทสายเป็นไปจนเกินขอบเขตโดยเข้าใกล้เขตพระ ราชฐาน  จึงได้มีการออกกฏหมายมณเฑียรบาลบัญญัติเป็นกฎหมายเพื่อกำหนดโทษสำหรับผู้ กระทำผิดที่เล่นดนตรีจนเกินขอบเขตขึ้นมาในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยเครื่องดนตรีที่ถูกระบุไว้ในกฎมณเฑียรบาลก็ล้วนมีอยู่ในวงเครื่องสายทั้ง สิ้น  ทั้งซอ  ขลุ่ย  จะเข้และโทนหรือทับ

     ดังนั้น  วงเครื่องสายในสมัยอยุธยาจึงมีเครื่องดนตรีประเภทสายอยู่แล้วอย่างครบถ้วน  สมบูรณ์  ทั้งเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงทำนอง  ได้แก่  ซอด้วง  ซออู้  จะเข้  ขลุ่ยและเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ  ได้แก่  โทนหรือทับและฉิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น