โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

วงคนตรีไทยสมัยสุโขทัย

การดนตรีไทยสมัยสุโขทัยมีปรากฎหลักฐานสำคัญใน  "หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1"  และหนังสือวรรณคดีเรื่อง "ไตรภูมิพระร่วง"  พระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาลิไท  โดยข้อความสำคัญที่เกี่ยวกับดนตรีไทยจากหลักฐานทั้งสองอย่างได้กล่าวถึง เครื่องดนตรีไทยและการ
บรรเลงเป็นวงดนตรีไทยไว้อย่างชัดเจนทั้ง "เสียงพาทย์" กับ  "เสียงพิณ"  ซึ่งหมายถึง วงปี่พาทย์ และเครื่องดีดเครื่องสีที่มีพิณเป็นหลัก

     ดังนั้น  จากหลักฐานชิ้นสำคัญดังที่กล่าวมา  ทำให้ทราบว่าเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเป็นวงตามแบบแผนในสมัยสุโขทัยนั้น  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

     วงแตร สังข์  เป็นเครื่องประโคมประกอบพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีสำคัญ ต่างๆ  ประกอบไปด้วย  สังข์  แตรยาว  หรือเรียกว่า  แตรฝรั่ง  แตรงอน  ปี่ไฉน  กลองชนะ  บัณเฑาว์และมโหรทึก

     วงปี่พาทย์   คือ วงดนตรีที่ประกอบไปด้วยเครื่องตีและเครื่องเป่าและถือว่าเป็นวงดนตรีสำคัญ ของการดนตรีไทย  โดยวงปี่พาทย์ในสมัยสุโขทัย  เรียกว่า  "วงปี่พาทย์เครื่องห้า"  ได้รับอิทธิพลมาจากวงดนตรีที่มีชื่อว่า  "ปัญจดุริยางค์"  ของอินเดีย  ซึ่งประกอบด้วยเครื่องตีและเครื่องเป่าที่ใช้ในการบรรเลง 5 อย่าง ได้แก่
     -  เครื่องที่มีรูกลวงภายในเป็นเครื่องเป่า
     -  เครื่องขึ้นหนังหน้าเดียว
     -  เครื่องขึ้นหนังสองหน้า
     -  เครื่องหุ้มหนังรอบตัว
     -  เครื่องที่เป็นแท่งทึบกระทบกันเป็นเสียง
     โดยเครื่องดนตรีที่ประกอบในวงปี่พาทย์เครื่องห้าของไทยนั้น  เป็นการนำเอาเครื่องดนตรีที่มีแต่เดิมแล้วมาผสมกันเพื่อให้ได้ลักษณะแบบแผน เช่นเดียวกับปัญจดุริยางค์ของอินเดียนั่นคือ  ปี่ใน  ฆ้องวง  ตะโพน  กลองทัด  ฉิ่ง  ซึ่งทั้งวงแตรสังข์และวงปี่พาทย์เครื่องห้าล้วนแล้วแต่อยู่ใน  "เสียงพาทย์"  ดังปรากฎในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงและไตรภูมิพระร่วง

     ส่วน  "เสียงพิณ"  ที่หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทสายและสีในสมัยสุโขทัย ก็คือ
     พิณ  เป็นเครื่องดนตรีที่มีสายและดีดให้เป็นเสียง  ซึ่งพิณในสมัยสุโขทัยมีรูปร่างเหมือนกระจับปี่ในปัจจุบัน

     นอกจากพิณที่มีลักษณะดังกล่าวแล้ว  พิณน้ำเต้า (จากเขมร) และพิณเพี๊ยะ (ส่วนมากนิยมเล่นทางภาคเหนือ)  ก็นับเป็นเครื่องดนตรีประเภทสายที่มีอยู่แล้วในสมัยสุโขทัย

     ซอ  ในสมัยสุโขทัยจะมีทั้งซอสามสาย  ซอด้วงและซออู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น