โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

สุภาษิต สำนวน คำพังเพย


           สุภาษิต ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง คำกล่าวที่มีคติควรฟัง สุภาษิตจึงมีลักษณะเดียวกับสำนวนและคำพังเพย แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน เตือนสติให้คิด ไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความจริง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ว ๆ ไป ภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ฯลฯ แต่เรานิยมเรียกสัจธรรมเหล่านี้ว่า "สุภาษิต"



          สำนวน ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง โวหาร ทำนองพูด ถ้อยคำที่เรียบเรียง ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่รับใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ

         สำนวนไทยจะมีความหมายโดยนัย เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ จะไม่แปลความหมายตรงตามตัวอักษร

         ตัวอย่างเช่น

         ปากเสีย หมายถึง พูดไม่ดี ชอบว่าผู้อื่น

        ใจจืด หมายถึง ไม่เอื้อเฟื้อแก่ใคร



        คำพังเพย ความหมายตามพจนานุกรม หมายความว่า "คำที่กล่าวขึ้นลอย ๆ เป็นคำกลางเพื่อตีให้เข้ากับเนื้อเรื่อง"

       คำพังเพยเป็นถ้อยคำที่มีลักษณะเดียวกับสำนวน แต่ต่างจากสำนวนตรงที่มีจุดมุ่งหมายเชิงสั่งสอน แต่เป็นไปในทำนองเสียดสี ประชดประชัน แฝงความหมายเชิงติชมไว้ด้วย คำพังเพยส่วนมากมีลักษณะเป็นข้อคิด และมีความหมายลึกซึ้ง เนื้อความที่สั่งสอนนั้น ไม่ได้เป็นความจริงอันเที่ยงแท้





      สุภาษิต สำนวน คำพังเพย                                    ความหมาย


1. กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี .........................เมื่อคราวบ้านเมืองอับจน ย่อมมีคนดีมาช่วยกู้สถานการณ์บ้านเมืองได้



2. คนดีผีคุ้ม ............................................คนดีเมื่อถึงคราวตกอับ มักมีคนมาช่วยเหลือไว้เสมอ



3. คนตายขายคนเป็น ................................ผู้ที่ตายไปแล้วญาติจัดงานศพยิ่งใหญ่ ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองแก่ผู้อยู่



4. คนรักเท่าผืนหนัง ..................................คนชังเท่าผืนเสื่อ คนที่รักเรากับคนที่เกลียดชังเรามีอยู่มากพอกัน



5. ชีปล่อยปลาแห้ง ...................................ทำเป็นคนใจบุญ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่



6. เด็กเลี้ยงแกะ ......................................คนที่ชอบพูดปดอยู่เสมอ จนไม่มีใครเชื่อถือ



7. เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด ..................ให้ทำตามผู้ใหญ่แล้วจะได้ดีเอง



8. ตักบาตรอย่าถามพระ ............................จะให้ของแก่ใคร ไม่ต้องถามก่อน ควรให้ไปเลย



9. ตาบอดได้แว่น ....................................ได้ในสิ่งที่ตนไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้



10. เตี้ยอุ้มค่อม .....................................ต่างคนต่างอยู่ในฐานะลำบากแล้วยังต้องเอาอีกคนหนึ่งมาเป็นภาระอีก



11. ทำนาบนหลังคน ...............................เบียดเบียนคนที่มีฐานะด้อยกว่า



12. นายว่า ขี้ข้าพลอย ............................ผู้น้อยคอยว่าตามผู้เป็นใหญ่กว่า



13. ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน .........................ให้แต่งงานตามความสมัครใจ



14. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ...............................พูดไปก็ไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า



15. ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด ......................................รู้เรื่องไม่ละเอียดถี่ถ้วน แล้วเอาไปพูดต่อผิด ๆ



16. มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ .............................................ไม่ช่วยให้งานเดิน แล้วยังคอยกีดกันไม่ให้ทำงานสะดวก



17. ไม้ล้มจึงข้าม คนล้มอย่าข้าม .......................................อย่ามองข้าม หรือซ้ำเติมคนที่เคยผิดพลาด



18. หน้าไหว้หลังหลอก ...................................................ต่อหน้าทำอย่างหนึ่ง ลับหลังทำอีกอย่างหนึ่ง



19. เอาหูไปนา เอาตาไปไร่.............................................. ทำไม่รู้ไม่เห็น ไม่สนใจ



20. กบเลือกนาย ..........................................................เป็นคนช่างเลือกจนพบสิ่งที่เลวกว่าเดิม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น