โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติ face book


ประวัติ Facebook


"เฟซบุ๊ก" (Facebook) เปิดตัวในปี พ.ศ.2547 โดย "มาร์ก ซักเกอร์ เบิร์ก" ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษาหนุ่มน้อยวัยแค่20 ปี จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง "ฮาร์วาร์ด"
                เขาร่วมมือกับเพื่อนอีก คน คิดค้นสร้าง เครือข่ายภายในรั้วมหาวิทยาลัยโดยให้นักศึกษาที่สนใจสามารถเข้ามาอัพเดตและแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวและรูปภาพได้ จนได้รับความนิยมมากขึ้น  จากภายในมหาวิทยาลัยกระจายสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ และขยายกลุ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีผู้สนใจจากทั่วโลกเข้าลงทะเบียนใช้งานมากกว่า 24  ล้านคน เฉลี่ยมีผู้ลงทะเบียนใหม่กว่า 100,000 รายต่อวัน
          
ลักษณะการทำงานของเฟซบุ๊กคือ มีลิงก์จากเพื่อนส่งเข้ามาหาและถ้าตอบตกลง sign up เข้าไปก็จะเข้าไปอยู่ในเครือข่ายของเฟซบุ๊กทันที ขณะเดียวกันก็สามารถส่งลิงก์เชื้อเชิญเพื่อนคนอื่นให้เข้ากลุ่มเป็นลูกโซ่ต่อไปได้ โดยในเฟซบุ๊กจะมีการแบ่งปันข้อมูลประสบการณ์ของแต่ละคน อัพเดตรูปภาพที่ได้ไปเที่ยวกันมา พูดคุย ติดต่อ เมาท์ หรือแม้แต่เข้าไปยุ่งเรื่องคนอื่นก็ได้
          
บางคนอาจคิดว่า "เฟซบุ๊ก" เหมือนกับ "มายสเปซ" (My space) เว็บไซต์เครือข่ายออนไลน์ที่ฮอตอยู่ในขณะนี้
          
แต่ "เฟซบุ๊ก" มีมากกว่านั้น
          
ความโดดเด่นของเฟซบุ๊ก คือผู้ใช้งานต้องใช้ชื่อจริงและอีเมล์เดียวกันในการลงทะเบียนและมีความต้องการที่จะรู้จักคนอื่นที่มีตัวตนจริงๆ บนโลกใบนี้
          
นักวิจัยจากสถาบันแห่งหนึ่งจากอังกฤษกล่าวว่า เฟซบุ๊กยอดเยี่ยมกว่ามายสเปซ เพราะเหมาะสำหรับ "เด็กดี" ขณะที่มายสเปซเหมาะสำหรับ ขาร็อก ฮิปฮอป ศิลปิน หรือคนทำงาน และเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น
          "
ซักเกอร์เบิร์ก" อธิบายเพิ่มเติมว่า ตัวเขาเองคล้ายกับผู้สร้างแผนที่ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ไว้ด้วยกันเป็นพื้นแผนที่แห่งใหม่ จากนั้นคนอื่นที่เข้ามาในแผนที่แห่งนี้ก็จะสามารถพบปะ พูดคุย หรือสร้างเส้นทางการค้าแห่งใหม่ได้ กล่าวคือ เฟซบุ๊กเป็นแผนที่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่เป็นจริงและมีตัวตนจริง
          
ขณะที่เครือข่ายทางสังคมบนเว็บไซต์อื่นๆ อาจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยให้คนได้เจอผู้เล่นหน้าใหม่ๆ บนโลกออนไลน์เท่านั้น
          "
ซักเกอร์เบิร์ก" แสดงให้เห็นโมเดลของเขาว่า คนแต่ละคนเปรียบเสมือนหน่วยแต่ละหน่วย  ที่เชื่อมต่อกันด้วยมิตรภาพและมีพลังอย่างมากในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เช่น ผู้ใช้งานจะรู้โดยอัตโนมัติเลยว่าเพื่อนคนใดมีรูปภาพอัลบั้มใหม่ เพราะจะมีคนอัพโหลดภาพนั้นขึ้นบนเว็บไซต์ซึ่งทำให้เพื่อนคนอื่นๆ เห็นด้วย
          
มากกว่านั้น สิ่งที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ  ชุมชนออนไลน์แห่งนี้ คือเฟซบุ๊กกำลังทำตนเองเป็น "แพลตฟอร์ม"
          
หมายความว่าสามารถให้นักพัฒนานำ แอปพลิเคชั่นมาใช้บนแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊กได้ ดังนั้นใครก็ตามที่สามารถสร้างเครื่องมือซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ก็มาใช้งานบนเครือข่ายนี้ได้
          
รายได้ที่บุคคลเหล่านั้นจะได้รับภายในเครือข่ายของเฟซบุ๊กนั้น พวกเขาจะได้รับไปเต็มๆ ทำให้ปัจจุบันเฟซบุ๊กมีของเล่นจำนวนนับพันถูกสร้างขึ้นและแพร่กระจายไปตามเครือข่ายเพื่อให้สมาชิกสามารถเข้ามาเล่นแบ่งบันร่วมกัน ทั้งการค้นหา ทั้งเพลง เล่นเกมซูโดกุ (เกมปริศนาตารางตัวเลข) หรือแม้แต่ขอยืมเงิน
          "
ปัจจุบันเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมถูกปิดกั้นโดยแพลตฟอร์ม แต่เรากำลังทำให้ข้อจำกัดนี้หมดไป" ซักเกอร์เบิร์กกล่าวกับโปรแกรมเมอร์จำนวน 750 คนที่เข้าร่วมประชุมนักพัฒนาครั้งแรกของบริษัท
          
นอกจากนั้น "เฟซบุ๊ก" ยังจะสนับสนุนให้บริษัทอื่นเข้ามาขายสินค้าภายในเครือข่ายได้ และตั้งเป้าว่าจะสามารถหาสินค้าได้ทุกอย่างบนเว็บไซต์แห่งนี้อีกด้วย
          
การเคลื่อนไหวดังกล่าวของเฟซบุ๊กทำให้หลายฝ่าย หรือแม้แต่ "ซักเกอร์เบิร์ก" เองมองว่าการกระทำของเขาคล้ายคลึงกับการกระทำของไมโครซอฟท์เมื่อทศวรรษที่ผ่านมา ที่เปิดโอกาสให้นักผลิตซอฟต์แวร์เขียนโปรแกรมสำหรับใช้บนระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และกลยุทธ์ลักษณะนี้เองที่ทำให้ไมโครซอฟท์มีกำไรและสร้างผู้ยิ่งใหญ่อย่างบิลล์ เกตส์ได้
          
ปัจจุบันนี้ซักเกอร์เบิร์กกำลังถูกบททดสอบอยู่ เรื่อง คือถูกฟ้องร้องคดีด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ขโมยความคิดการทำเฟซบุ๊กมาจากเพื่อนนักเรียนที่ฮาร์วาร์ด และกรณีที่เฟซบุ๊กจะเน้นการสร้างชุมชนเพื่อทำธุรกิจทางออนไลน์ ดังนั้นจึงต้องจูงใจนักลงทุนทั้งหลายว่าความคิดเรื่องแผนที่ของเขาสามารถดำเนินการทางธุรกิจได้ เพราะคนส่วนใหญ่อาจคิดว่าการเข้าไปที่เฟซบุ๊กนั้นเพื่อสร้างสังคมมากกว่าที่จะเข้าไปจับจ่ายใช้สอย
          
แต่ซักเกอร์เบิร์กเคยกล่าวอย่างติดตลกว่า "ขณะนี้เราเป็นเว็บไซต์อันดับ ที่ยิ่งใหญ่ในสหรัฐ และดูเหมือนเราก็ไม่เข้ากับคนอื่นๆ สักเท่าไร   แต่พวกเราก็เพิ่งจะข้ามผ่านอีเบย์ไป และจะทำงานเพื่อข้ามกูเกิลด้วย"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น