โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการทำนา

ขั้นตอนการทำนา





1.การเตรียมพันธุ์ข้าว
 


เมื่อนำเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแชน้ำนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง
แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง
เมล็ดจะงอกภายใน
48 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก
ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็นยอดก็จะสูงขึ้น
เหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า
ต้นกล้า
หลังจากต้นกล้ามีอายุ ประมาณ 40 วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้น
โดยเจริญเติบโตออกจากตา บริเวณโคนต้น
ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ
5-15 หน่อ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ข้าว ระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน
แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ
100-200 เมล็ด
โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่สุด
ประมาณ
100-200 เซนติเมตรซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ข้าว
ตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ  







2.
การปลูกข้าว





วิธีการปลูกข้าวหรือการทำนาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้

 

2.1 การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก
ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า
ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น ภูเขา มักจะไม่มีระดับ
คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ
เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด
โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก
แล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันที
หลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้ว
จะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน
เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขัง
และไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว
พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน
ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน
และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่
ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม
พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้
ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก

 

 

 



2.2 การปลูกข้าวนาดำ หรือเรียกว่า การปักดำ
ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก
และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่ ดังนั้น
การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า
Indirect Seeding
ซึ่งต้องเตรียมดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร
และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย
หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม
ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ
ขนาดแปลงละ
1 ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ
ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร
การไถดะ หมายถึง การถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนา
และพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ
1 สัปดาห์
จึงทำการไถแปรซึ่งหมายถึงการไถตัดกับรอยไถดะ
การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนา
ตลอดจนถึงชนิดและปริมาณของวัชพืช เมื่อไถแปรแล้วทำการคราดได้ทันที
การคราดก็คือการคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนา และปรับพื้นที่นา
ให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกัน ด้วยพื้นที่นาที่มีระดับเป็นที่ราบ
จะทำให้ต้นข้าวได้รับน้ำเท่าๆกัน และสะดวกต่อการไขน้ำเข้าออก

การตกกล้า หมายถึง การนำเมล็ดหวานให้งอก
ใช้เวลาประมาณ
25-30 วัน นับจากวันหว่าน
เมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดโตพอที่จะถอนนำไปปักดำได้





 

การปักดำ คือการนำต้นกล้าที่ถอนขึ้นจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆ
จะต้องสลัดดินโคลนที่รากออก แล้วนำไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้
ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ตัดปลายใบทิ้ง พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขัง
อยู่ประมาณ
5-10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้
เมื่อนานั้นไม่มีน้ำขังอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนั้นลึกมากต้นข้าวที่ปักดำ
อาจจมน้ำในระยะแรก และ ข้าวจะต้องยืดต้นมากกว่าปกติ
จนผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่ได้ผลผลิตสูง
จะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร

 







2.3 การปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์
หว่านลงในพื้นที่นาที่ไถเตรียมไว้โดยตรง

ซึ่งเรียกว่า Direct Seeding การเตรียมดินก็คือการไถดะและไถแปร
ชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน
เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีคันนากั้น
จึงสะดวกแก่การไถด้วยแทรกเตอร์ขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตามยังมีชาวนาจำนวนมากใช้แรงงานวัวและควายไถนา
การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย
การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ การหว่านหลังขี้ไถ และการหว่านน้ำตม

การหว่านสำรวย การหว่านวิธีนี้ชาวนาจะหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
ที่ยังไม่ได้เพาะให้งอกลงในพื้นที่นาเตรียมดินโดยการไถดะ
และไถแปรไว้แล้วโดยตรง เมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงไปตกลงปอยู่ในซอก
ระหว่างก้อนดินและรอยไถ เมื่อฝนตกพื้นดินเปียกและเมล็ดได้รับความชื้น
เมล็ดข้าวจะงอกเป็นต้นกล้า การหวานวิธีนี้ใช้เฉพาะท้องที่
ซึ่งดินมีความชื้นพออยู่แล้ว



 

การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ ชาวนาจะทำการไถดะและไถแปร
แล้วจึงนำเมล็ดที่ยังไม่ได้เพาะ ให้งอกหว่านลงไปทันทีแล้วคราด
หรือไถเพื่อกลบเมล็ดที่หว่านลงไปอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากดินมี

ความชื้นอยู่แล้วเมล็ดจะเริ่มงอกทันทีหลังจากหว่านลงดิน
การตั้งตัวของต้นกล้าจะตั้งตัวดีกว่า

การหว่านสำรวย เพราะเมล็ดที่หว่านถูกกลบฝังลึกลงในดิน



การหว่านน้ำตม การหว่านแบบนี้นิยมใช้ในพื้นที่มีน้ำขังประมาณ 3-5 เซนติเมตร
และพื้นที่นา
เป็นผืนใหญ่ขนาดประมาณ 1-2 ไร่
มีคันนากั้นเป็นแปลงการเตรียมดินทำเหมือนกับการเตรียม

ดินสำหรับนาดำ ซึ่งมีการไถดะ ไถแปร
และคราดเพื่อเก็บวัชพืชออกจากพื้นนาแล้วจึงทิ้งให้ดิน

ตกตะกอนจนเห็นว่าน้ำใส จึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะให้งอกแล้วหว่านลงนาและไขน้ำออก
เมล็ดจะ
เจริญเติบโตเป็นต้นข้าวและเจริญเติบโตอย่างข้าวอื่นๆ
ตามปกติการหว่านแบบนี้นิยมทำกันใน

ท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ทำการปลูกข้าวนาปรัง



 


 
 

3. การดูแลรักษา ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การหว่านเมล็ด การปักดำต้นข้าวต้องการน้ำ
และปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต ในระหว่างนี้ต้นข้าวอาจถูกโรค
และแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้าทำลายต้นข้าว
โดยทำให้ต้นข้าวแห้งตายหรือผลผลิตต่ำและคุณภาพเมล็ดไม่ได้มาตราฐาน
เพาะฉะนั้นนอกจากจะมีวิธีการปลูกที่ดีแล้วจะต้องมีวิธีการดูแลที่ดีอีกด้วย
ทั้งการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยและพ่นยาเคมี
เพื่อป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาจเกิดระบาดขึ้นได้


 

4. การเก็บเกี่ยว สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่สี่หลังจากข้าวออกดอก
แล้วประมาณ
28-30 วัน ชาวนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคกลางใช่เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวที่ละหลายๆ รวง
ส่วนชาวนสภาคใต้ใช้แกระสำหรับเกี่ยวข้าวทีละรวง เคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมี
2 ชนิด
 ได้แก่ เคียวนาสวน และเคียวนาเมือง เคียวนาสวนเป็นเคียวกว้าง
ใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนที่ปลูกไว้แบบปักดำ
ส่วนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวน
เคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองที่ปลูกไว้แบบหว่าน
ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวไม่จำเป็นต้องมีคอรวงยาว
เพราะข้าวที่ถูกเกี่ยวมาจะถูกมัดเป็นกำๆ ส่วนข้าวที่ถูกเกี่ยวด้วยแกระ
จำเป็นต้องมีคอรวงยาวเพราะชาวนาต้องเกี่ยวรวงที่ละรวงแล้วมัดเป็นกำๆ
ข้าวที่ถูกเกี่ยวด้วยแกระชาวนาจะเก็บไว้ในยุ้งฉางซึ่งโปร่ง
มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะทำการนวดเมื่อต้องการขาย
หรือต้องการสีเป็นข้าวสาร ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำ
ชาวนาจะทิ้งไว้ในนาบนตอซังเพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา
3-5 วัน
สำหรับข้าวที่ปลูกแบบหว่านพื้นที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว
ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะถูกกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่างๆ
กันเป็นเวลา
5-7 วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม แล้วจึงนำมาที่ลานนวด
ข้าวที่นวดแล้วจะถูกนำไปเก็บในยุ้งฉางหรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้



5. การนวดข้าว หมายถึงการนำเมล็ดข้าวออกจากรวงและทำความสะอาด
เพื่อแยกเมล็ดข้าวลีบและเศษฟางออก เหลือไว้เฉพาะเมล็ดข้าวเปลือก
ที่ต้องการเท่านั้น ซึ่งการนวดข้าวสามารถทำได้หลายวิธี
เช่น การนวดข้าวโดยใช้แรงสัตว์ (วัว ควาย) การนวดแบบฟาดกำข้าว
การนวดแบบใช้เครื่องทุ่นแรง (เครื่องหมุนตีร่วงข้าว)
 และการนวกแบบใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ (คอมไบน์)
โดยเริ่มจากการนำข้าวที่เกี่ยวจากนาไปกองไว้ที่ลานสำหรับนวดข้าว
 การกองข้าวมีหลายวิธี แต่หลักสำคัญคือการกองข้าวจะต้องเป็นระเบียบ
ถ้ากองไม่เป็นระเบียบมัดข้าวะอยู่สูงๆ ต่ำๆ
ทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหายและคุณภาพต่ำ
โดยปกติแล้วจะกองเป็นวงกลม หลังจากข้าวนวดแล้ว
ชาวนามักจะที่ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา
5-7 วัน
เพื่อลดความชื้นในเมล็ดข้าว ข้าวที่เกี่ยวใหม่ๆ มีความชื้นประมาณ
20-25 %
หลังจากตากแล้วเมล็ดข้าวจะมีความชื้นเหลือประมาณ 13-15% เมล็ด


 


 

6. การทำความสะอาดเมล็ด เมล็ดข้าวที่ได้จากการนวดมักมีสิ่งเจือปน
เช่น ดิน กรวด ทราย เมล็ดลีบฟางข้าวทำให้ขายได้
ราคาต่ำ
ฉะนั้นชาวนาจะทำความสะอาดเมล็ดก่อนที่จะนำข้าวเปลือกเก็บเข้ายุ้งฉาง
หรือขายให้พ่อค้า การทำความสะอาดเมล็ด

หมายถึง การนำข้าวเปลือกออกจากสิ่งเจือปนอื่นๆ
ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การสาดข้าว การใช้กระด้งฝัด และการใช้เครื่องฝัด


 

7. การตากข้าว เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตราฐานเป็นเวลานานๆ
หลังจากนวดและทำความ สะอาดเมล็ดข้าวแล้ว
จำเป็นต้องนำข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำไปเก็นในยุ้งฉาง
เพื่อให้ข้าวเปลือกแห้งและมีความชื้นประมาณ
13-15%
เมล็ดข้าวในยุ้งที่มีความชื้นสูงกว่านี้จะทำให้เกิดความร้อนสูงจนคุณภาพข้าวเสื่อม
และอาจทำให้เชื้อราติดมากับเมล็ด

และขยายพันธุ์ทำลายเมล็ดข้าวเปลือกได้เป็นจำนวนมาก
การตากข้าวควรตากบนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับ

แสงโดยทั่วถึงกัน ควรตากแดดนานประมาณ 3-4 แดด
ในต่างประเทศใช้เครื่องอบข้าวเพื่อลดความชื้นในเมล็ดข้าวเรียกว่า

Drier โดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน


ขั้นตอนการทำเค้ก


เค้กมะพร้าวอ่อน

เขียนโดย fruitcake ที่ 0:25 0 ความคิดเห็น
เค้กมะพร้ามอ่อน !!! รู้สึกว่าผลไม้เกือบทุกชนิดเนี๊ยะ เอามาทำขนมเค้กได้ทั้งนั้นเลย อิอิ น่ากินๆๆอีกแล้ว มีหวังอ้วนก็คราวนี้แหละ อยากรู้วิธีทำกันแระยังเอ่ย ไปลองทำกันเลยค่ะ
  • ส่วนผสม 1 แป้งเค้ก 45 กรัม
    ผงฟู 1/4 ช้อนชา
    น้ำตาลทรายป่น 27 กรัม
    เกลือ 1/8 ช้อนชา
  • ส่วนผสม 2 ไข่แดงเบอร์สอง 2 ฟอง
    กะทิ 16.5 กรัม
    น้ำมันพืช 16.5 กรัม
    น้ำมะพร้าว 12 กรัม
  • ส่วนผสม 3 ไข่ขาวเบอร์สอง 2 ฟอง
    ครีมออฟทาร์ทาร์ 1/8 ช้อนชา
    น้ำตาลทรายป่น 27 กรัม

วิธีทำ
  • ร่อนแป้งเค้ก ผงฟู เกลือ น้ำตาลป่นเข้าด้วยกัน พักไว้
  • ในชามอีกใบผสมไข่แดง น้ำมันพืช กะทิ น้ำมะพร้าว ตีให้พอเข้ากัน เทส่วนผสมที่ 2 ลงในส่วนผสมที่ 1 คนให้ส่วนผสมเข้ากันดี พักไว้
  • ใน ชามที่สะอาดตีไข่ขาวกะครีมออฟทาร์ทาร์ให้เป็นฟอง จากนั้นค่อยๆทะยอยใส่น้ำตาลป่นลงไป ตีไข่ขาวให้ขึ้นฟูตั้งยอดอ่อน แบ่งส่วนผสมไข่ขาวออกเป็น 3 ส่วน นำไข่ขาวลงไปตะล่อมกะส่วนผสม 1+2 อย่างเบามือทีละส่วน ทำแบบนี้จนหมดไข่ขาว
  • เท ส่วนผสมที่ได้ลงในพิมพ์ขนาด 1 ปอนด์ กระแทกพิมพ์ 1 ครั้ง นำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 180 C อบด้วยไฟล่าง นาน 15-20 นาที พอสุกแล้วนำออกจากเตา กระแทกพิมพ์แรงๆ 1 ครั้งๆ นำเค้กออกจากพิมพ์ พักไว้ให้เย็น
ส่วนผสมไส้ครีมมะพร้าวอ่อน
นม ข้นจืด 62.5 กรัม กะทิ 62.5 กรัม น้ำมะพร้าวอ่อน 75 กรัม น้ำตาล 25 กรัม แป้งกวนไส้ 15 กรัม เกลือ 1/8 ช้อนชา เนยสด 15 กรัม เนื้อมะพร้าวอ่อน 1 ลูก
นำ นมข้นจืด กะทิ น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำตาล แป้งกวนไส้ เกลือ ใส่ชาม คนให้เข้ากัน นำขึ้นตั้งไฟแบบ double-boiling คนส่วนผสมไปในทางเดียวกันตลอดเวลา จนกระทั่งแป้งสุก ส่วนผสมข้น ยกลงจากเตา ใส่เนยกับเนื้อมะพร้าวอ่อนลงไปคนให้เข้ากัน พักไว้ให้ส่วนผสมเย็นแล้วจึงนำไปทาบนเนื้อเค้ก

การทำพานบายศรี

การทำพานบายศรี
งานประดิษฐ์บายศรี   เป็นงานประดิษฐ์ที่ตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ  สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม  ประเพณี  และวิถีชีวิตแบบไทยเป็นงานที่มีความประณีต  มีความงามและมีคุณค่าทางศิลปะ  มีความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย  เป็นมรดกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์  เป็นการนำวัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ผู้ที่มีความสามารถในการประดิษฐ์บายศรีได้ถือว่าเป็นปราชญ์ของท้องถิ่น  ซึ่งก่อให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย 
วัสดุอุปกรณ์
1. ใบตองกล้วยตานี
2. มีด
3. ไข่ต้ม
4. กล้วยน้ำว้า
5. กรรไกร
6. ชาม
7. ไม้กลัด
8. ดอกไม้
9. ไม้ปลายแหลม
10. เข็มกับด้าย
11. ข้าวเหนียวปั้น
12. น้ำมันมะกอก
13. ไก่นึ่ง
วิธีทำ
เช็ดใบตองให้สะอาดและฉีกใบตองดังนี้
  • ทำกรวย  ฉีกกว้าง 10 นิ้ว จำนวน 2 แผ่น
  • เกล็ดประกอบกรวย  ฉีกกว้าง  2  ½ นิ้ว จำนวน  15  แผ่น
  • ทำนมสาวปิดเกล็ดกรวย  ฉีกกว้าง ½  นิ้ว  จำนวน  4 เส้น
  • ตัวยอดบายศรี  ฉีกกว้าง 5 นิ้ว จำนวน 2  แผ่น
  • ตัวลูก ฉีกกว้าง 2 ½ นิ้ว จำนวน  90 แผ่น
  • ผ้านุ่ง ฉีกกว้าง 2 ½ นิ้ว จำนวน 80 แผ่น
  • ตัวบายศรีพญานาค ฉีกกว้าง 2 ½ นิ้ว จำนวน 80 แผ่น
1.    การม้วนกรวย   นำใบตอง 2 แผ่นที่ฉีกไว้มาประกบกันให้ทางปลายอ่อน
ทั้ง 2 แผ่นสลับกัน แล้วม้วนให้เป็นกรวย ให้ปลายอ่อนอยู่ข้างนอก ตัดปาก
กรวยให้เรียบ ความสูงจากยอดประมาณ 10 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้

2.การพับผ้านุ่ง  มีทั้งหมด 80 แผ่น พับผ้านุ่งโดยพับริมทั้ง 2 ข้าง ให้ชิดกับยอดแหลม  นำผ้านุ่งที่พับไว้มาห่อตัวบายศรี 3 นิ้ว โดยให้ยอดเท่ากันทั้ง 2 ข้าง

3.การเข้าตัวบายศรี  มีทั้งหมด 10 ตัว  โดยมือซ้ายจับริมบนตอนกลาง มือขวาม้วนทางด้านแข็งไว้ข้างใน  ม้วนให้เรียวเล็กพอประมาณ

4. นำบายศรีทุกตัวล้างด้วยน้ำผสมน้ำมันมะกอกเพื่อให้ใบตองสีเขียวสด



5.การเตรียมพานบายศรี  ตัดแผ่นโฟมให้เป็นทรงกลมขนาดเท่ากับพานและขนาดเล็กลงเป็นชั้นๆ นิยมทำ 3 ชั้น   5 ชั้น ห่อด้วบตอง ใช้ไม้แหลมเสียบตรงกลางยึดติดกันเป็นชั้นๆ.
6.วางกรวยบายศรีตรงกลางฐานชั้นแรกยึดด้วยเข็มหมุดหรือไม้กลัด ยอดบายศรีตกแต่งด้วยดอกไม้ เทียนยาว 1 คู่  เกล็ดกรวยใช้ดอกพุดเสียบ นำตัวบายศรี 5 ตัววางฐานชั้นที่สองหันตัวลูกออกข้างนอก ใช้ไม้แหลมแทงยึดตัวบายศรีกับฐาน นำตัวแมงดาวางสับหว่างบายศรีทั้ง 5 ตัวให้หางแมงดาหันขึ้น


แหล่งท่องเที่ยวห้วยกระทิง


ล่องแพห้วยกระทิง
จุดชมวิว ห้วยกระทิง
อ่างเก็บน้ำหมานตอนบนหรืออ่างเก็บน้ำห้วยกระทิง
อยู่บ้านห้วยกระทิง หมู่1 ต.กกทอง อ.เมืองเลย จังหวัดเลย
ห้วยกระทิง อยู่ใกล้ๆอำเภอเมือง จังหวัดเลย ที่นี่คืออ่างเก็บน้ำห้วยน้ำหมานตอนบน ที่มีความพิเศษกว่าการไปกินและพักผ่อนจากที่อื่นคือ บรรยากาศที่ร่มเย็น ลมโกรกสบายเมื่อลอยเรือแพอยู่กลางอ่างเก็บน้ำ พร้อมกับอาหารบ้านๆที่แสนจะอร่อยเป็นที่สุด อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำหมานตอนบนหรืออ่างเก็บน้ำห้วยกระทิงตั้งอยู่ในวนอุทยานหริรักษ์ เป็นอ่างเก็บน้ำสันเขื่อนดิน มีขนาดความจุ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 1,500 ไร่ สันเขื่อนยาว 800 เมตร สร้างเพื่อการชลประทาน บริเวณอ่างเก็บน้ำมี
 ทัศนียภาพที่สวยงามของป่าไผ่และภูเขาที่โอบล้อม การเดินทาง ใช้เส้นทางเลย-ภูเรือ ออกจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร

และให้เลี้ยวขวาไป 5 กิโลเมตร

ล่องแพห้วยกระทิง
ภูมิประเทศ
บริเวณตอนกลางของวนอุทยานหริรักษ์ ชลประทานได้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำหมาน ตอนบนบริเวณด้านเหนือของอ่าง
เป็นภูเขาเตี้ย มีไม้ขนาดเล็กขึ้นอยู่กระจัดกระจาย ทางด้านใต้ของอ่างเป็นภูเขาสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 300-500 เมตร
สัตว์ป่าสัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า อีเห็น กระรอก ปลา และนกชนิดต่างๆ เป็นต้นป่าและพันธุ์ไม้
พบป่า 2ประเภท คือ ป่าประเภทไม่ผลัดใบ เช่น ป่าดิบแล้ง และป่าประเภทผลัดใบ เช่น ป่าเบญจพรรณ
ป่าบริเวณหุบเขาและลำห้วยมีความชุ่มชื้นจะมีป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กระบก ประดู่ แดง มะค่าโมง ตะแบก เป็นต้น
ไม้พื้นล่างได้แก่ ไผ่ซาง ไผ่ไร่ ไผ่รวก ไผ่ข้าวหลาม

การเดินทาง
มีเส้นทางการคมนาคม 2 เส้นทาง คือ
1. ทางแยกบ้านไร่ม่วง กิโลเมตรที่ 3 (สายเลย-เพชรบูรณ์)ระยะทางเข้าถึงหัวงานประมาณ 7 กิโลเมตร
เดินทางอีก 3 กิโลเมตรก็จะถึงสำนักงานชั่วคราวของวนอุทยาน หริรักษ์(โป่งเบี้ย)
2. จากอำเภอเมืองเลยตามเส้นทางสายเลย-เพชรบูรณ์ กิโลเมตรที่ 14 แยกเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร
จุดนี้ห่างจากเขตอำเภอเมืองเลย 14 กิโลเมตร

โมบายทำมือจากวัสดธรรมชาติ

โมบายทำมือ จากวัสดุธรรมชาติ

สวยแบบง่ายๆ เหมาะสำหรับให้สมาชิกในบ้านทุกๆ คนช่วยกันทำช่วยกันออกแบบ เพิ่มความอบอุ่นในครอบครัว อย่างเช่น “โมบายจากวัสดุธรรมชาติ”



mobile-material-4


ขอขอบคุณที่มา : http://homeidea.exteen.com/
การ แต่งบ้านเป็นงานอดิเรกที่ชื่นชอบของหลายๆคน..เพราะว่าแต่งไปก็เพลินไปไม่ เหมือนงานอื่นที่ต้องเร่งรัดให้เสร็จเร็วๆ…แต่งานนี้ทำไปก็มีความสุขไป ทำไปแล้วไม่สวยก็ขยับปรับเปลี่ยนใหม่ สำหรับคราวนี้เราลองมาทำของแต่งบ้านที่น่ารัก และสวยแบบง่ายๆ เหมาะสำหรับให้สมาชิกในบ้านทุกๆ คนช่วยกันทำช่วยกันออกแบบ เพิ่มความอบอุ่นในครอบครัว อย่างเช่น “โมบายจากวัสดุธรรมชาติ” ที่เรานำมาเสนอขั้นตอนการทำในครั้งนี้ ไปดูกันเลยดีกว่า….

mobile-material-2
สิ่งที่ต้องเตรียม
  • เศษกิ่งไม้ขนาดพอเหมาะ 3-4 กิ่ง

  • เปลือกหอยรูปแบบต่างๆ เจาะรูเรียบร้อยเพื่อเตรียมร้อยเชือก

  • ลูกปัดที่ปั้นจากดินเยื่อกระดาษสีต่าง ๆ

    (อาจจะนำมาจากตอนที่เราทำ เครื่องประดับจากเปลือกหอยจำลองในครั้งก่อนๆ ก็ได้)

  • เชือกหรือไหมพรม ตัดตามขนาดมี่เราต้องการหลายๆ เส้น

  • กรรไกร

    mobile-material-3

    วิธีทำ

  • นำเชือกมามัดกับกิ่งไม้หลักของโมบายให้แน่น

  • นำเปลือกหอยที่เจาะรูแล้วมาร้อยเชือกแล้วมัดเป็นปมให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ

  • นำลูกปัดดินเยื่อกระดาษมาร้อยต่อ

  • ร้อยเปลือกหอยและดินเยื่อกระดาษสลับกันไปเรื่อยๆ จนได้เชือกยาวได้ขนาดตามที่ต้องการ

  • นำเชือกที่ร้อยเปลือกหอยและลูกปัดเรียบร้อยแล้วมาผูกกับกิ่งไม้

  • นำเชือกมาร้อยลูกปัด และเปลือกหอยตามที่ออกแบบไว้ และนำมาผูกกับกิ่งไม้ ให้ได้ขนาดที่สวยงาม

  • ทำชิ้นส่วนโมบายเสร็จแล้วส่วนหนึ่ง วางไว้รอประกอบกับส่วนอื่น

  • นำกิ่งไม้อีกกิ่งมาผูกเชือกที่ร้อยลูกปัดกับเปลือกหอย ตามการออกแบบของเรา ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ กับกิ่งไม้ทุกกิ่งที่เตรียมไว้

  • เมื่อทุกส่วนเรียบร้อยแล้วก็นำมาประกอบกันกับกิ่งไม้หลัก โดยวางบนพื้นดูความสวยงามก่อน

  • จากนั้นก็ถึงตอนสำคัญที่สุดแล้วคือลองยกขึ้นแขวนดู…

    เพื่อเช็คสมดุลของกิ่ง ไม้ว่าเอียงไปด้านหนึ่งด้านใดมากเกินไปไหม..

    ถ้ามากไปก็ลองย้ายเปลือกหอยหรือ ลูกปัดมาอีกข้างหนึ่ง หรือเอาออกไป หรือปรับตำแหน่งของจุดที่ผูกเชือกกับกิ่งไม้โดยเลื่อนเข้าเลื่อนออกจนกว่า กิ่งไม้ทั้งหมดจะสมดุล….

    ความสนุกเพลิดเพลินก็จะอยู่ที่ตรงการปรับไปปรับมา เช็คความสมดุลนี่เอง……



  • สติ

    สติ

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ส่วนหนึ่งของ
    ศาสนาพุทธ

    Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย

    Dharmacakra flag (Thailand).svg
    ประวัติศาสนาพุทธ
    ศาสดา
    พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    จุดมุ่งหมาย
    นิพพาน
    ไตรรัตน์
    พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    ความเชื่อและการปฏิบัติ
    ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา
    คัมภีร์และหนังสือ
    พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
    หลักธรรมที่น่าสนใจ
    ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา
    นิกาย
    เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
    สังคมศาสนาพุทธ
    ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
    การจาริกแสวงบุญ
    พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ
    ดูเพิ่มเติม
    อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
    สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ หมายถึง อาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้ นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้ เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม ระงับยับยั้งใจได้ ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอ ป้องกันความเสียหายเบื้องต้นยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่าม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไม่ประมาท
    สติ เป็นธรรมมีอุปการะมาก คือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง สตินั้นหากนำมาใช้กับทางโลกทั่วไปก็ย่อมมีประโยชน์มหาศาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ การคิดอ่านย่อมเป็นระบบ จิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงานใด ๆ อารมณ์มักจะเป็นปกติ ไม่ค่อยโกรธ เครียด หรือทุกข์ใจอะไรมาก ๆ กล่าวโดยรวมคือย่อมเกื้อกูลชีวิตประจำวันทางโลกได้อย่างดีซึ่งเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจน ถ้ารู้เนือง ๆ มาก ๆ เข้าจนเป็นมหาสติ ก็จะได้ประโยชน์จากทางธรรมด้วย การที่เรามีสติอยู่เนือง ๆ รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ทำอย่างติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็เพื่อให้สติเกื้อกูลต่อการ “เห็นความจริง” ความจริงนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือกายกับใจจุดหมายของการรู้ก็เพื่อให้เห็นความจริง อันได้แก่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา
    สติ เป็นคุณธรรมที่เกิดเองไม่ได้ ต้อง ทำให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝนรวบรวมจิตใจให้นิ่งแน่วด้วยวิธีต่างๆ เช่นการเจริญวิปัสสนาคือการฝึกตามมหาสติปัฏฐานสูตร ทำสมาธิ สวดมนต์ ภาวนาคือให้มีความรู้สึกตัวผ่านอายตนะทั้ง 6
    หลักการเจริญสติสามารถกระทำได้ในทุกอิริยาบถ การเจริญสติ มิใช่เพื่อให้จิตนิ่งถาวรอันเป็นการเพ่งแบบสมาธิ คือ จิตนั้นต้องรู้เอง มิใช่จงใจดักรู้ จิตเผลอไปก่อนค่อยตามรู้ทีหลัง ว่าเผลอไปแล้วแต่ไม่ไปบังคับจิตให้หายเผลอ รู้แบบสักว่ารู้ รู้แบบไม่เพ่ง ไม่เผลอ แต่ก็ไม่ประคอง จิตที่มีสติ รู้ตัวต้องนุ่มนวล อ่อนโยน รู้ตื่น เบิกบาน คล่องแคล่ว ควรแก่การงาน รู้แบบซื่อๆ รู้แบบสบายๆ รู้แล้วจบลงที่รู้ แต่ไม่จงใจให้จบ รู้ด้วยใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง แต่ไม่จงใจประคองรักษาความเป็นกลาง รู้โดยสภาวะ จิตมีสภาวะใดๆก็รู้ทัน รู้แบบไม่ต้องเคร่ง ต้องเครียด ซึม ทื่อ แค่เพียรทำเหตุให้ถึงพร้อมโดยไม่จำเป็นต้องหวังผล รู้ตามความจริงที่เกิดอย่างที่เป็น รู้สภาวะที่เกิดจริงๆตามความเป็นจริง ไม่ช่วยสมมุติเพิ่ม รู้คือรู้ ไม่ใช่ความคิด อย่าอยากผลักไสความชั่ว อย่าอยากรักษาความดี เพราะจะเหนี่อยและเครียด จงรู้กายใจตามจริงว่าเผลอคิดชั่ว คิดดีก็รู้ทัน จิตที่เผลอคิด มันก็ห้ามไม่ได้เพราะจิตทำงานเอง ทุกสิ่งล้วนเป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตนไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา จิตก็เป็นอนัตตา สติก็เป็นอนัตตา สติก็บังคับให้เกิดตามใจอยากไม่ได้ สติจะเกิดก็เพราะมีเหตุ ด้วยการฝึกตามรู้มีสติบ่อยๆ การพยายามจงใจรู้จึงมิใช่สติ แต่เป็นความโลภอยากได้สติ เลยสร้างสภาวะเลียนแบบสติ สติเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่คงที่ แม้สติก็ต้องเสื่อมเป็นธรรมดา แม้ความนิ่งก็เป็นอนิจจัง มีเหตุก็ฟุ้ง ไม่มีเหตุก็ดับ การบังคับจิตให้นิ่งเป็นการฝืนธรรมชาติของจิต แม้เผลอมีอารมณ์ก็ไม่นานเปลี่ยน อารมณ์ใดๆที่ถูกรู้จะอยู่ไม่ได้เพราะจะมีแต่สภาวะรู้เท่านั้น จึงอย่าหวงแหนสติ จิตจะดีไม่ดีก็จงรู้อย่างที่เป็น สติคือการรู้อย่างอิสระ ไม่ยินดียินร้าย วางใจกลางๆ ยอมรับความจริงในความเจริญหรือความเสื่อมของสรรพสิ่ง คลายความยึดมั่นถือมั่น อย่างเช่นนั้นเอง

    [แก้] อ้างอิง

    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจน

    สติ

    สติ

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ส่วนหนึ่งของ
    ศาสนาพุทธ

    Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย

    Dharmacakra flag (Thailand).svg
    ประวัติศาสนาพุทธ
    ศาสดา
    พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    จุดมุ่งหมาย
    นิพพาน
    ไตรรัตน์
    พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    ความเชื่อและการปฏิบัติ
    ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา
    คัมภีร์และหนังสือ
    พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
    หลักธรรมที่น่าสนใจ
    ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา
    นิกาย
    เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
    สังคมศาสนาพุทธ
    ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
    การจาริกแสวงบุญ
    พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ
    ดูเพิ่มเติม
    อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
    สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ หมายถึง อาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้ นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้ เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม ระงับยับยั้งใจได้ ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอ ป้องกันความเสียหายเบื้องต้นยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่าม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไม่ประมาท
    สติ เป็นธรรมมีอุปการะมาก คือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง สตินั้นหากนำมาใช้กับทางโลกทั่วไปก็ย่อมมีประโยชน์มหาศาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ การคิดอ่านย่อมเป็นระบบ จิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงานใด ๆ อารมณ์มักจะเป็นปกติ ไม่ค่อยโกรธ เครียด หรือทุกข์ใจอะไรมาก ๆ กล่าวโดยรวมคือย่อมเกื้อกูลชีวิตประจำวันทางโลกได้อย่างดีซึ่งเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจน ถ้ารู้เนือง ๆ มาก ๆ เข้าจนเป็นมหาสติ ก็จะได้ประโยชน์จากทางธรรมด้วย การที่เรามีสติอยู่เนือง ๆ รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ทำอย่างติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็เพื่อให้สติเกื้อกูลต่อการ “เห็นความจริง” ความจริงนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือกายกับใจจุดหมายของการรู้ก็เพื่อให้เห็นความจริง อันได้แก่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา
    สติ เป็นคุณธรรมที่เกิดเองไม่ได้ ต้อง ทำให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝนรวบรวมจิตใจให้นิ่งแน่วด้วยวิธีต่างๆ เช่นการเจริญวิปัสสนาคือการฝึกตามมหาสติปัฏฐานสูตร ทำสมาธิ สวดมนต์ ภาวนาคือให้มีความรู้สึกตัวผ่านอายตนะทั้ง 6
    หลักการเจริญสติสามารถกระทำได้ในทุกอิริยาบถ การเจริญสติ มิใช่เพื่อให้จิตนิ่งถาวรอันเป็นการเพ่งแบบสมาธิ คือ จิตนั้นต้องรู้เอง มิใช่จงใจดักรู้ จิตเผลอไปก่อนค่อยตามรู้ทีหลัง ว่าเผลอไปแล้วแต่ไม่ไปบังคับจิตให้หายเผลอ รู้แบบสักว่ารู้ รู้แบบไม่เพ่ง ไม่เผลอ แต่ก็ไม่ประคอง จิตที่มีสติ รู้ตัวต้องนุ่มนวล อ่อนโยน รู้ตื่น เบิกบาน คล่องแคล่ว ควรแก่การงาน รู้แบบซื่อๆ รู้แบบสบายๆ รู้แล้วจบลงที่รู้ แต่ไม่จงใจให้จบ รู้ด้วยใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง แต่ไม่จงใจประคองรักษาความเป็นกลาง รู้โดยสภาวะ จิตมีสภาวะใดๆก็รู้ทัน รู้แบบไม่ต้องเคร่ง ต้องเครียด ซึม ทื่อ แค่เพียรทำเหตุให้ถึงพร้อมโดยไม่จำเป็นต้องหวังผล รู้ตามความจริงที่เกิดอย่างที่เป็น รู้สภาวะที่เกิดจริงๆตามความเป็นจริง ไม่ช่วยสมมุติเพิ่ม รู้คือรู้ ไม่ใช่ความคิด อย่าอยากผลักไสความชั่ว อย่าอยากรักษาความดี เพราะจะเหนี่อยและเครียด จงรู้กายใจตามจริงว่าเผลอคิดชั่ว คิดดีก็รู้ทัน จิตที่เผลอคิด มันก็ห้ามไม่ได้เพราะจิตทำงานเอง ทุกสิ่งล้วนเป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตนไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา จิตก็เป็นอนัตตา สติก็เป็นอนัตตา สติก็บังคับให้เกิดตามใจอยากไม่ได้ สติจะเกิดก็เพราะมีเหตุ ด้วยการฝึกตามรู้มีสติบ่อยๆ การพยายามจงใจรู้จึงมิใช่สติ แต่เป็นความโลภอยากได้สติ เลยสร้างสภาวะเลียนแบบสติ สติเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่คงที่ แม้สติก็ต้องเสื่อมเป็นธรรมดา แม้ความนิ่งก็เป็นอนิจจัง มีเหตุก็ฟุ้ง ไม่มีเหตุก็ดับ การบังคับจิตให้นิ่งเป็นการฝืนธรรมชาติของจิต แม้เผลอมีอารมณ์ก็ไม่นานเปลี่ยน อารมณ์ใดๆที่ถูกรู้จะอยู่ไม่ได้เพราะจะมีแต่สภาวะรู้เท่านั้น จึงอย่าหวงแหนสติ จิตจะดีไม่ดีก็จงรู้อย่างที่เป็น สติคือการรู้อย่างอิสระ ไม่ยินดียินร้าย วางใจกลางๆ ยอมรับความจริงในความเจริญหรือความเสื่อมของสรรพสิ่ง คลายความยึดมั่นถือมั่น อย่างเช่นนั้นเอง

    [แก้] อ้างอิง

    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจน

    ภาวะโลกร้อน Global Warming

    ภาวะโลกร้อน Global Warming


    ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส
    สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้นจากเดิม
    ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
    ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆเราสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี หลักๆก็เห็นจะเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด เพราะว่าพลังงานที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันนี้กว่าจะมาถึงให้เราได้ใช้นั้น ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนในการผลิตมากมาย และแต่ละขั้นตอนก็จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นมา เพราะฉะนั้นการลดใช้พลังงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เช่น การปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางใกล้ๆ และอื่นๆอีกมากมาย
    การปลูกต้นไม้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ อย่างที่เรารู้กันดีว่าในเวลากลางวัน ต้นไม้นั้นจะช่วยหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และหายใจออกมาเป็นก๊าซออกซิเจน เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเราโดยแท้ แต่ทว่าปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายและมีจำนวนลดลงไปอย่างมาก ฉะนั้นถ้าเราทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้ ก็เหมือนกับช่วยเพิ่มเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเรา
    บทความภาวะโลกร้อนอื่นๆ
    วิธีลดภาวะโลกร้อน
    ผลกระทบของภาวะโลกร้อน

    นกเพนกวิน

    นกเพนกวิน

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    เพนกวิน (Penguin) จัดอยู่ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณขั้วโลกใต้ มีปีกแบนเอาไว้พายว่ายน้ำ ชอบกินปลา ตัวเมียออกลูกเป็นไข่ให้ตัวผู้กกไข่ แล้วตัวเมียจะไปหาอาหารกลับมา
    Penguins (latSpheniscidae ) เป็น ครอบครัว ของ น้ำ neletećih นก, ที่อยู่ ส่วนใหญ่ ใน ซีกโลก ใต้รวมถึง หก จำพวก กับ 17 หรือ 20 สายพันธุ์, ขึ้นอยู่กับ ผู้เขียน เพนกวิน สามารถปรับตัว กับชีวิตในน้ำด้วยปีกที่มีการพัฒนาในกระเพื่อมขนสีดำบนหลังของพวกเขาในขณะที่ท้องสีขาว อาหาร ครัสเตเชีย, ปลา, ปลาหมึก และ สัตว์น้ำ อื่น ๆ ที่รักในขณะที่ ว่ายน้ำ ใต้น้ำ ใต้น้ำ ใช้ เกือบครึ่ง ชีวิต
    แต่ ทุก ชนิด เพนกวิน ที่เกิด ในพื้นที่ภาคใต้ พวกเขา ไม่เพียง อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่มี สภาพ อากาศ เย็น เช่น ทวิปแอนตาร์กติกาแท้จริง เพียง ไม่กี่ ชนิด ของ เพนกวิน อาศัยอยู่ ใต้ มาก หลาย ชนิด อาศัยอยู่ใน เขต หนาว และ หนึ่ง ชนิด เพนกวิน กาลาปากอส, ชีวิต ใกล้ เส้นศูนย์สูตร.
    ชนิด ที่ใหญ่ที่สุดใน ชีวิต คือ เพนกวินจักรพรรดิ ตัวแทน ใหญ่ที่สุด ของ ชนิด นี้ สูงประมาณ 1.1 เมตร และ น้ำหนัก ประมาณ 35 กก. ชนิด ที่เล็กที่สุด ของ นกเพนกวิน เป็น Little Penguinสมาชิกมีประมาณ 40 ซม. สูง และ น้ำหนัก 1 กก. ขนาดใหญ่ ชนิด เพนกวิน inhabiting อาหารว่าง เย็น ในขณะที่เพนกวินน้อยจะพบในบริเวณเขตร้อน ปานกลาง หรือ แม้แต่บางชนิดก่อนประวัติศาสตร์ของนกเพนกวินเป็นสัดส่วน ถึงยักษ์ สูง และ น้ำหนัก เป็น คน ผู้ใหญ่